
บ่อปลา กลางแจ้ง ต้องเจอภาวะน้ำเขียว อันเกิดจาก แสงแดด และ ไนโตรเจน ในช่วงแรกของการเลี้ยงนั้น
เมื่อระบบกรองเข้าที่ น้ำจะค่อยๆ เริ่มใสขึ้น
เมื่อเริ่มมีตะไคร่สีเขียวอีกชนิดมาขึ้นเกาะอยู่ตามผนังหรือพื้นบ่อ
นั่นก็เป็นเพราะว่าตะไคร่ชนิดเกาะผนังบ่อ มันไปแย่ง "อาหาร"
จากตะไคร่ชนิดแขวนลอยที่ทำให้น้ำเขียว จนทำให้มันลดจำนวนลง
"อาหาร" ที่ว่าก็คือ "ปุ๋ยไนโตรเจน" ในรูปของ "ไนเตรต"
เกิดจาก ขี้ปลาและอาหารที่เหลือ
ขี้ปลาในรูปยูเรียถูกย่อยโดยแบคทีเรียเป็นแอมโมเนียซึ่งยังมีพิษต่อปลา
แอมโมเนียถูกย่อยโดยแบคทีเรียอีกกลุ่มได้ไนไตรท์ซึ่งมีพิษเช่นกัน
ไนไตรท์ถูกย่อยเป็นไนเตรต ซึ่งมีพิษน้อยสุด แต่หากมีสะสมมากเกิน
มันก็อาจแปลงรูปกลับมาเป็นไนไตรท์ รวมทั้งแก็สพิษอื่นๆได้อีก
เช่นแก็สไข่เน่าที่เป็นพิษต่อปลาเช่นกัน
ดังนั้น ตะไคร่ ที่เกาะตามผนังบ่อ ขจัดไนเตรตออกไป
โดยสลายไปเป็นธาตุอื่นๆ ที่ไม่เป็นพิษ เช่นแก็สคาร์บอนไดอ็อกไซด์
แก็สไนโตรเจน ละเหยไปในอากาศ
จึงสรุปได้ว่า "ตะไคร่" ขึ้นผนังบ่อ คือสัญญาณที่ดี แต่เราก็ต้อง
ข้อดีและข้อเสียของน้ำเขียว
ข้อดี
- น้ำที่เปี่ยมไปด้วยออกซิเจน ในระหว่างการ Photosynthesis ของพืช คาร์บอนไดออกไซด์และแอมโมเนีย จะถูกใช้ไป ออกซิเจนจะถูกผลิตออกมาแทนที่ปลาที่ได้รับ ออกซิเจน ในปริมาณที่มากจะเจริญอาหาร โตเร็วและแข็งแรง ผลพลอยได้ก็คือพัฒนาการที่ดีของทั้งรูปร่าง
- น้ำที่ปราศจากของเสีย Nitrite และ Nitrate ซึ่งเป็นพิษสำหรับปลา จะถูกกำจัดออกไปในกระบวนการ Photosynthesis
- ระบบกรองแบบธรรมชาติที่ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ น้ำเขียวสามารถถูกนำมาใช้แทนที่ระบบกรองที่ต้องลงทุนทั้งเม็ดเงินและเวลาในการดูแลรักษา
- ช่วยให้สภาพของน้ำไม่แปรปรวน คุณสมบัติที่ดีอีกอย่างของน้ำเขียว คือสามารถทำให้ไม่เกิดการแกว่งตัวอย่างเฉียบพลัน ของค่า pH ในน้ำ และเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำใส น้ำเขียวจะมีการปรับตัวของอุณหภูมิที่ช้ากว่าเมื่อต้องเจอกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของอุณหภูมิโดยรอบ
- เป็นแหล่งอาหารชั้นยอด น้ำเขียวมีสัดส่วนของโปรตีน ในจำนวนมาก เและยังมี Carotene ที่เป็นสารเร่งสีแบบธรรมชาติสำหรับปลาทองอีกด้วยเพราะฉะนั้นเราจะเห็นชาวญี่ปุ่นนิยมที่จะเตรียมน้ำเขียวก่อนเข้าฤดูหนาวไว้ใช้เลี้ยงปลาช่วงฤดูหนาว เพราะช่วงฤดูหนาวปลาจะจำศีลและจะไม่มีการให้อาหารหรือเปลี่ยนน้ำเด็ดขาด น้ำเขียวจึงเป็นแหล่งอาหารที่ดี และยังช่วยคงสภาพน้ำในช่วงที่สภาพอากาศเลวร้ายอีกด้วย
- ช่วยลดความเครียดให้กับปลา ทุกท่านอาจเคยได้ยินว่าเวลาปลาป่วยให้ใส่ยาและปิดบ่อ เพื่อลดความเครียดของปลา น้ำเขียวก็สามารถทำหน้าที่ได้เหมือนกับการปิดบ่อ เพราะปลาจะมองเห็นแต่สีเขียวและจะไม่แตกตื่นง่ายต่อการเคลื่อนใหวของสิ่งต่างๆรอบข้าง
ข้อเสีย
- การขาดออกซิเจน ในขณะที่ตอนกลางวัน น้ำเขียวจะปล่อย ออกซิเจน ออกมาจำนวนมากและช่วยให้ปลาสดชื่นและเจริญอาหาร แต่ในตอนกลางคืนน้ำเขียวจะแย่ง ออกซิเจน และอาจทำให้เกิดการขาดออกซิเจน ได้แต่โดยรวมแล้ว ปลามักจะมีการเคลื่อนไหวน้อยและกินอาหารน้อยอยู่แล้วจึงไม่ต้องใช้ ออกซิเจน มากเท่าตอนกลางวัน แต่เพื่อความปลอดภัย การเติมอากาศให้เพียงพอจึงเป็นเรื่องสำคัญในตอนกลางคืน
- แผลเป็นที่เกิดจากออกซิเจน บางท่านอาจจะเคยพบว่าเกิดฟองอากาศขึ้นตามครีบและหางบนตัวปลา เมื่อพยายามเขี่ยก็ไม่ออก สาเหตุของอาการดังกล่าวเกิดจากออกซิเจนที่ถูกผลิตออกมาในจำนวนมากโดยน้ำเขียวและได้เกิดการรวมตัวเป็นจำนวนมากในครีบหรือหางของปลาและเกิดภาวะระเบิดออกจากแรงอัดอากาศ ทำให้เกิดแผลเป็นขึ้น
- มองไม่เห็นปลา นี่คงเป็นข้อเสียข้อสำคัญสำหรับนักเลี้ยง เพราะทุกท่านเลี้ยงปลาเพื่อผ่อนคลายเวลาชมปลาตัวโปรดของเราว่ายน้ำ นอกจากจะไม่ได้ชื่นชมปลาตัวโปรดแล้ว การมองไม่เห็นปลาที่เราเลี้ยงก็มีความเสี่ยงในการรักษาปลาที่เป็นโรค หากพบอาการป่วยของปลาช้าเกินไป